คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ

 ประเภท : ข่าว สปสช.

เจ็บป่วยทั่วไป

เจ็บป่วยทั่วไป หมายความว่า อาการเจ็บป่วย ที่ไม่ใช่อาการฉุกเฉิน ซึ่งอาจรอรับหรือเลือกสรรบริการสาธารณสุขในเวลาทำการปกติไต้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา

แนวทางการใช้สิทธิ

  1. 1. เข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิ ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนเสมอ
  2. 2. แจ้งขอใช้ "สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลยประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ไช้ "สูติบัตร" แทน (ใบเกิด)

เจ็บป่วยฉุกเฉิน

เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดจ็บ หรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการตำรงชีวิต หรือการทำงานของอวัยวะสำคัญจำเป็นต้องได้ รับการประเมินการจัดการ และการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต หรืออาการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น

แนวทางการใช้สิทธิ

 

  1. 1.เข้ารับบริการกับหน่วยบริการของรัฐ หรือเอกชนที่ข้าร่วมโครงการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดย ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  2. 2.แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสาร ที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัว ประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)
  3. 3.กรณีเข้ารับการรักษายัง โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วม โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อเนื่อง

กรณีอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคาดคิดมาก่อนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน บุคคลได้รับอันตรายทั้งร่างกายและจิตใจ อาจบาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

แนวทางการใช้สิทธิ

กรณีประสบอุบัติเหตุทั่วไป

 

  1. 1.เข้ารับบริการกับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้ทีสุดได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  2. 2.แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายมีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัว ประชาชนให้ไช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)
  3. 3.กรณีเข้ารับการรักษายัง โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วม โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อเนื่อง

กรณีประสบอุบัติเหตุอากรถ

  1. 1.แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสาร ที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเต็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัว ประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)
  2. 2.กรณีเข้ารับการรักษายัง โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วม โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งธาติต่อเนื่อง

การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง

การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง หมายความว่า หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้น "เกินศักยภาพของหน่วยบริการ" จะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพ ที่สูงกว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค

แนวทางการใช้สิทธิ

  1. 1.เข้ารับบริการที่หน่วยบริกรประจำตามสิทธิ หากหน่วยบริการปฐมภูมิเกินศักยภาพ จะได้รับการส่งต่อตามขั้นตอน
  2. 2.แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อนรับบริการ พร้อมแสตงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประราชนห้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP)

เจ็บป่วย "ฉุกเฉินวิกฤต" มีสิทธิทุกที่ "โดยไม่ต้องสำรองจ่าย"

รู้จักสิทธิ UCEP สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ พื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถ ข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่ใช้จ่ายจน พ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ยได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต...

  1. 1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. 2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. 3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
  4. 4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  5. 5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. 6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่ข้าง่าย

ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP

  1. 1.ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  2. 2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
  3. 3. ศูนย์ปะสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบกวนของข้อมูล
  4. 4.กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  5. 5.กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง หมายเหตุ : Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่อยฉุกเฉินวิกฤต

การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P)

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) เป็นสิทธิประโยชน์เดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดให้กับประชาชนไทยทุกสิทธิ เป็นบริการสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน

การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างเสริมความตระหนักและขีดความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง

การป้องกันโรค หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีขอบเขตดังนี้

  1. 1. การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียสุขภาพและศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. 2. การสร้างเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้คำปรึกษาแนะนำ การให้ความรู้และการสาธิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  3. 3. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การใช้ยา และการทำหัตถการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเฝ้าระวัง และการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยมีอาการแทรกซ้อนหรือการชะลอความรุนแรงของการป่วย โดยให้ถือว่าบริการดังกล่าวเป็นกิจกรรมด้านการรักษาพยาบาล

เป้าหมาย

ประชาชนไทยทุกสิทธิ ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้มีสิทธิประกันสังคม ผู้มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสิทธิอื่นๆ ย่อมมีสิทธิเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ฉบับที่ 10 ของประชาชนแต่ละกลุ่มวัย

รายการหรือกิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สิทธิประโยชน์) ที่ประชาชนทุกสิทธิจะได้รับ แยกตามกลุ่มวัยเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กเล็กอายุ ๐ - ๕ ปี กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ ๖ - ๒๔ ปี กลุ่มผู้ใหญ่อายุ ๒๕ - ๕๙ ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ทั้งนี้การจัดบริการตามรายการหรือกิจกรรมบริการ หน่วยบริการจะดำเนินการตามแนวทางหรือแนวเวชปฏิบัติ และมาตรฐานบริการที่กำหนด โดยกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขหรือราชวิทยาลัยหรือสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

สิทธิประโยชน์ การบำบัดทดแทนไต

สิทธิประโยชน์ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี