ข้อมูล เทศบาล

ประวัติตำบลท่าไม้

    เทศบาลตำบลท่าไม้  เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล  มีชื่อว่า  “สุขาภิบาลท่าไม้” ได้จัดตั้งขึ้น

เมื่อวันที่ ๗  พฤศจิกายน ๒๕๓๓  ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๒๒๒

หน้า  ๙๓๐๐   ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็น “เทศบาลตำบลท่าไม้”

ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล   พ.ศ. ๒๕๔๒  โดยได้ประกาศ

ในราชกิจจา นุเบกษา  เล่ม  ๑๑๖  ตอนที่  ๙  ก.  วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๔๒ ” โดยมีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ ๒๕  พฤษภาคม  ๒๕๔๒  และประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่อง การรวมองค์การบริหารส่วน-

ตำบลกับเทศบาล ให้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ รวมกับเทศบาลตำบลท่าไม้

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  ลงวันที่   ๙  กรกฎาคม  ๒๕๔๗  ปัจจุบัน  สำนักงานตั้งอยู่ที่  ๙๙

หมู่ที่  ๙  ตำบลท่าไม้  อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี  มีพื้นที่ ๑๗.๗๑๒ ตารางกิโลเมตร

อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่ามะกา ๘ กิโลเมตรห่างจากกรุงเทพมหานคร  ๙๒  กิโลเมตร 

และอยู่ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี  ๓๓  กิโลเมตร

วิสัยทัศน์การพัฒนา

    “ท่าไม้เมืองน่าอยู่  มุ่งสู่คุณภาพชีวิต  พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน”

พันธกิจ

    ๑. ส่งเสริมระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน

    ๒. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    ๓. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ ยกระดับรายได้ของประชาชน

    ๔. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

    ๕. ส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น

    ๖. ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    ๗. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

    ๑. ประชาชนมีระบบการคมนาคมขนส่ง และสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานเพียงพอ เพื่อรองรับความเจริญในอนาคต และเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี

    ๒. ประชาชนได้รับการดูแลคุณภาพชีวิตในทุกๆด้านอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

    ๓. ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    ๔. ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใสในการพัฒนาท้องถิ่น

    ๕. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การสาธารณสุข การศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาชุมชนสู่สังคมที่เข้มแข็ง

    ๖. บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกชุมชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ๗. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และสร้างจิตสาธารณะในการให้บริการประชาชน

    ๘. พัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรและการให้บริการประชาชน

 

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 0 ท่าไม้ 3 42 34 76 คน
หมู่ที่ 1 บ้านดอนแจง 403 608 647 1,255 คน
หมู่ที่ 2 กระต่ายเต้น 271 427 424 851 คน
หมู่ที่ 3 ทุ่งฝืด 256 386 433 819 คน
หมู่ที่ 4 ท่าหว้า 322 209 248 457 คน
หมู่ที่ 5 ท่าไม้ 463 271 292 563 คน
หมู่ที่ 6 ท่าไม้ 700 726 736 1,462 คน
หมู่ที่ 7 คร้อพนัน 551 734 758 1,492 คน
หมู่ที่ 8 รางโป่ง 303 281 308 589 คน
หมู่ที่ 9 หลังวัดคาทอลิก 295 383 381 764 คน
หมู่ที่ 10 โรงหีบเล็ก 248 440 532 972 คน
ข้อมูลรวม : คน

ลักษณะที่ตั้ง

    ปัจจุบัน  สำนักงานตั้งอยู่ที่  ๙๙  หมู่ที่  ๙  ตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 

มีพื้นที่ ๑๗.๗๑๒  ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่ามะกา ๘ กิโลเมตร

ห่างจากกรุงเทพมหนคร  ๙๒ กิโลเมตร  และอยู่ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี  ๓๓ กิโลเมตร

พื้นที่ของเทศบาลมีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียง  ดังนี้ 

ทิศเหนือ

จรด

ตำบลท่ามะกา 

ทิศตะวันออก

จรด

ตำบลยางม่วง, ตำบลดอนขมิ้น            

ทิศตะวันตก

จรด

แม่น้ำแม่กลอง

ทิศใต้

จรด

เทศบาลตำบลลูกแก   

ประชากร              

    จำนวนสถิติประชากรจากทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้ ณ เดือนมิถุนายน

พ.ศ.๒๕๖๓           

    มีจำนวนประชากรชาย ๔,๖๔๖ คน หญิง  ๔,๘๙๒  คน รวมทั้งสิ้น ๙,๕๓๘ คน 

รวม  ๓,๘๐๔ ครัวเรือน 

การเมืองการปกครอง

    เทศบาลตำบลท่าไม้  เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล  มีชื่อว่า  “สุขาภิบาลท่าไม้” ได้จัดตั้งขึ้น

เมื่อวันที่ ๗  พฤศจิกายน ๒๕๓๓  ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๒๒๒

หน้า  ๙๓๐๐   ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็น “เทศบาลตำบลท่าไม้”

ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล   พ.ศ. ๒๕๔๒  โดยได้ประกาศ

ในราชกิจจา นุเบกษา  เล่ม  ๑๑๖  ตอนที่  ๙  ก.  วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๔๒ ” โดยมีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ ๒๕  พฤษภาคม  ๒๕๔๒  และประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่อง การรวมองค์การบริหารส่วน-

ตำบลกับเทศบาล ให้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ รวมกับเทศบาลตำบลท่าไม้

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  ลงวันที่   ๙  กรกฎาคม  ๒๕๔๗

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

    อาชีพของประชาชนในเขตเทศบาลที่สำคัญ  ได้แก่  การค้าขาย  ซึ่งมีทั้งการค้าปลีกและการค้าส่ง มีตลาดเช้าให้ได้จับจ่ายใช้สอย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตลาดท่าไม้ หมู่ที่ 6 ตลาดนัดวัดคร้อพนัน ซึ่งจัดในช่วงเย็นวันอังคารและวันอาทิตย์ และตลาดนัดริมคลองเล็ก ซึ่งจัดในช่วงเย็นวันศุกร์ การประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็ก  เช่น  อู่ซ่อมรถ  และ  การรับจ้างทั่วไป

การเกษตรกรรม                    

    เนื่องมาจากสภาพของดินในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้  เป็นดินที่มีศักยภาพสูงปานกลางถึง สูงมาก  ลักษณะของดินเป็นดินเหนียวและ ร่วนซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพัดมา  จึงมีความอุดมสมบูรณ์มาก  มีการระบายน้ำเร็ว  ลักษณะดินดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ส่วน ใหญ่ของอำเภอท่ามะกาเหมาะแก่การปลูกข้าว  พืชไร่  ผักและผลไม้  ประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้  จึงปลูกพืชดังกล่าว เป็นอาชีพหลัก  แรงงานในภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่ได้มาจากสมาชิกในครัวเรือน  ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่ว่างเว้นจากฤดูเก็บเกี่ยว ในพื้นที่ของตนเอง  โดยการนำเครื่องจักรมาช่วยในการเพาะปลูก  สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่ได้มาจาก พี่น้องที่ว่างเว้นจากฤดูทำนาหรือเกษตรกรรมอื่น ๆ และแรงงานของประชากรในท้องถิ่นภายในเทศบาลหรือตำบลหรืออำเภอและ จังหวัดอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง

การอุตสาหกรรม                 

    ในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้มีอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ  อุตสาหกรรมน้ำตาลซึ่งปัจจุบันมีอยู่   จำนวน  ๒  โรงงาน  คือ  บริษัทโรงงาน น้ำตาลนิวกรุงไทย  จำกัด    และบริษัทโรงงานน้ำตาลไทยกาญจนบุรี  และอุตสาหกรรมขนาดย่อมประเภทต่าง ๆ     

การพานิชยกรรม/การบริการ                
    สถานประกอบการในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตหมู่ที่ ๖ , ๗ และ ๘  ส่วนใหญ่ จะเป็นกิจการประเภทค้าขาย ของเบ็ดเตล็ด รองลงมาได้แก่กิจการจำหน่ายวัสดุ ก่อสร้างและกิจการจำหน่ายและผลิตน้ำดื่ม  

การท่องเที่ยว                 
    ในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญมีเพียง ลำแม่น้ำ แม่กลองและศาสนสถาน  ซึ่งประชาชนใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจละใช้เป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ในช่วงเทศกาล  งานประเพณีทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติเท่านั้น

ชุมชน

    ชุมชนภายในเขตเทศบาล  มีจำนวน  ๑๑  ชุมชน  ประกอบด้วย 

 

1.  ชุมชนหมู่ 1 พัฒนา 

หมู่ที่  ๑

 

๒.  ชุมชนบ้านกระต่ายเต้น   

หมู่ที่  ๒ 

 

๓. ชุมชุนพัฒนา 

หมู่ที่  ๓

 

๔.  ชุมชนบ้านท่าหว้าพัฒนา

หมู่ที่  ๔

 

๕. ชุมชนพัฒนาห้รุ่เรือง   

หมู่ที่  ๕

 

๖.  ชุมชนริมคลองร่วมใจพัฒนา

หมู่ที่  ๖

 

๗.  ชุมชนศาลาท่าไม้ร่วมใจพัฒนา

หมู่ที่  ๖

 

๘.  ชุมชนคร้อพนันพัฒนา

หมู่ที่  ๗

 

๙.  ชุมชนรางโป่งหัวหินร่วมใจพัฒนา 

หมู่ที่  ๘

 

๑๐.  ชุมชนร่วมมือพัฒนา

หมู่ที่  ๙

 

๑๑.  ชุมชนก้าวหน้าพัฒนา

หมู่ที่ ๑๐

 

การศึกษา

      เทศบาลตำบลท่าไม้มีสถานศึกษา ๒ แห่ง เป็นสถานศึกษาระดับประถมศึกษาของรัฐบาลคือ โรงเรียนวัดคร้อพนัน และ โรงเรียนวัดกระต่ายเต้น 

และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ๒  แห่ง  คือ 

    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดคร้อพนัน มีจำนวนนักเรียน  ๕๐ คน

    และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกระต่ายเต้น มีนักเรียนจำนวน  ๕๗  คน

การศาสนา  ประเพณีและวัฒนธรรม                   

    ประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมีนับถือศาสนาคริสต์บ้างประมาณร้อยละ ๘  ซึ่งในเขตเทศบาลมีศาสนาสถานที่สำคัญเป็น

วัดพุทธ ๒ แห่ง วัดคริสต์  ๑  แห่ง สุสานอีก  ๑ แห่ง           

    1. วัดกระต่ายเต้น ตั้งอยู่หมู่ที่  ๒  บ้านกระต่ายเต้น

    2. วัดคร้อพนัน  ตั้งอยู่หมู่ที่  ๗ บ้านคร้อพนัน

    3. วัดโรมันคาทอลิกท่าหว้า ตั้งอยู่หมู่ที่  ๙  บ้านดอนแจง

    ประชาชนต่างใช้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  งานบุญ บวชสามเณรภาคฤดูร้อน งานประเพณีเช่น  วันเข้าพรรษา  วันลอยกระทง วันขึ้นปีใหม่  วันวิสาขบูชา  วังสงกรานต์ และฯลฯ  นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ  ของประชาชนในเขตเทศบาล

การบริการพื้นที่

 การสาธารณสุข

    สุขภาพอนามัยของประชาชนอยู่ในระดับปานกลางไม่มีโรคติดต่อที่ร้ายแรงระบาดในตำบล  โรคที่เป็นกันมากได้แก่  โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ  เช่น   ไข้หวัดในเด็กเล็กเนื่องจากความแตกต่างทางอากาศ โรคอุจจาระร่วง  โรคปอดอักเสบ      ไข้เลือดออก  โรคอาหารเป็นพิษ  นอกจากนี้ยังมีโรคเกี่ยวกับช่องปาก เช่น  โรคฟันผุและเหงือกอักเสบ   ด้านการวางแผนครอบครัวประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและขอรับบริการ    ด้านสุขาภิบาลและสาธารณสุขมูลฐานในเคหะสถานและชีวิตประจำวันประชาชนยังขาดความรู้และการปฏิบัติที่ดี  เช่น  การจัดบ้านเรือน  คอกสัตว์  สภาพแวดล้อมและการกำจัดของเสียและสิ่งปฏิกูลที่ถูกวิธี

    การบริการสุขภาพอนามัยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้ มีสถานบริการสาธารณสุขเพียงแห่งเดียวคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระต่ายเต้น โดยให้การบริการพยาบาลเบื้องต้นและให้คำแนะนำด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ในเขตเทศบาล  คือ  เจ้าหน้าที่อนามัยประจำตำบล   ผู้สื่อสารสาธารณสุข (ผสส.)  และอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) ซึ่งคัดเลือกจากประชาชนใน   หมู่บ้านประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

    ด้านการสาธารณสุขเทศบาลตำบลท่าไม้ ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชน  ในชุมชนในกลุ่ม โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระต่ายเต้นและ อสม. อยู่เป็นประจำ

    เทศบาลตำบลท่าไม้ได้มีโครงการเทศบาลเคลื่อนที่ และได้ออกตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับประชาชน  เดือนละ  ๑  ครั้ง  โดยให้บริการในเรื่องของการตรวจวัดความดัน  เบาหวาน  การนวดแผนไทย  การบริการตัดผมฟรีให้กับประชาชน  และให้ความรู้ด้านสุขภาพกับชุมชน ซึ่งจัดทำโครงการเป็นประจำทุกปี

    กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลท่าไม้ได้ดำเนินการจัดทำโครงการผู้สูงวัย  สุขภาพดี  ชีวิผ่องใส  เป็นประจำทุกเดือน เพื่อดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาล และให้ผู้สูงอายุรู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง

การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม

    ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖  ให้บริการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนชรา  จำนวน ๑,๒๓๔ คน  ผู้พิการจำนวน   ๑๖๒ คน ผู้ป่วยโรคเอดส์ จำนวน  ๔   คน และผู้ด้อยโอกาสในเขตเทศบาล สงเคราะห์เงินช่วยเหลือค่าทำศพผู้ยากไร้ในเขตเทศบาล  จัดให้มีกิจกรรมวันผู้สูงอายุและกิจกรรมงานวันคนพิการสากลทุกปี   รวมถึงช่วยเหลือ ผู้ประสบอุบัติภัยและภัยธรรมชาติต่าง ๆ

ทรัพยากรธรรมชาติ

แหล่งน้ำ

    ในเขตเทศบาลตำบลท่าไม้  มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง  และจากระบบชลประทาน 

เพื่อใช้ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม

ขยะมูลฝอย

    ๑.  ปริมาณขยะ  ประมาณวันละ  ๑๐  ตัน

    ๒.  รถยนต์ที่ใช้ในการจัดเก็บขยะมูลฝอย ขนาดความจุ ๓๐ ลบ.เมตร มีจำนวน ๒  คัน

    ๓.  รถยนต์ที่ใช้ในการจัดเก็บขยะมูลฝอย ขนาดความจุ ๓ ลบ.เมตร  มีจำนวน  ๑  คัน