ข้อมูลหน่วยงานและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของเทศบาล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 กําหนดไว้แจ้งชัด ซึ่งอาจจําแนกที่มาของ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวได้ คือ

1.อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งเทศบาลกําหนด สามารถแบ่งแยกประเภทอํานาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น

2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และ อํา นาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติ ทั้งยังได้กําหนดอํานาจหน้าที่ของเทศบาลในฐานะต่างๆ ดังนี้

1.1 หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่จะต้อง ปฏิบัติ มาตรา 50 ,53 และ 56

มาตรา 52* (ยกเลิกทั้งมาตรา) มาตรา 53**

ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทําในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

(1) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐

(2) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

(3) ให้มีโรงฆ่าสัตว์

(4) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้

(5) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ำ

(6) ให้มีและบํารุงส้วมสาธารณะ

(7) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

(8) ให้มีการดําเนินกิจการโรงรับจํานําหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

มาตรา 54* ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง อาจจัดทํากิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

(1) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

(2) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

(3) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร

(4) ให้มีและบํารุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก

(5) ให้มีและบํารุงโรงพยาบาล

(6) ให้มีการสาธารณูปการ

(7) จัดทํากิจการซึ่งจําเป็นเพื่อการสาธารณสุข

(8) จัดตั้งและบํารุงโรงเรียนอาชีวศึกษา

(9) ให้มีและบํารุงสถานที่สําหรับการกีฬาและพลศึกษา

(10) ให้มีและบํารุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(11) ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น

(12) เทศพาณิชย์

มาตรา 60* เทศบาลมีอํานาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

(2) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้มีอํานาจตราเทศบัญญัติ

*****ในเทศบัญญัตินั้น จะกําหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติ หรือให้มีอํานาจตราเทศบัญญัติ

2. อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆกําหนด นอกจากอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กําหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กําหนดให้เทศบาลมี อํานาจ หน้าที่ดําเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆอีกเป็นจํานวนมาก เช่น

– พระราชบัญญัติป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ.2464

– พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534

– พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทําปุ๋ย พ.ศ.2490

– พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493

– พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2495

– พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534

– พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจําหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503

– พระราชบัญญัติภาษีบํารุงท้องที่ พ.ศ.2508

– พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510

– พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518

– พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522

– พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523

– พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523

– พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526

– พระราชบัญญัติสุสานและณาปนสถาน พ.ศ.2528

– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502

– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 (กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือในแม่น้ำลําคลอง)

– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (กฎหมายว่าด้วยทางหลวง)

– ประมวลกฎหมายที่ดิน (ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า ตามคําสั่ง กระทรวงมหาดไทยที่ 890/2498

สำนักปลัดเทศบาล
    มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาตำบล การจัดทำร่างข้อบัญญัติและข้อบังคับตำบล การประชุมสภา การจัดทำระเบียนสมาชิกเทศบาลตำบล คณะผู้บริหาร พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง พนักงานจ้าง การเลือกตั้ง งานเกี่ยวกับกฎหมายและคดี การประนีประนอม    ข้อพิพาทต่างๆ งานส่งเสริมการเกษตร การท่องเที่ยว การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาใน หน้าที่และความรับผิดชอบการ  ปกครองบังคับบัญชา พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง พนักงานจ้าง การบริหารงานบุคคล ของเทศบาลตำบลทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติ ราชการของส่วนราชการในองคืการบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ ของเทศบาลตำบล รวมถึงปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 7 งาน คือ

1. งานธุรการ

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานสารบรรณ ดูแลรักษา จัดเตรียมและให้บริการเรื่องสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การติดต่อและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ งานเลขานุการผู้บริหาร งานประชุมสภาเทศบาล คณะเทศมนตรี และพนักงานลูกจ้างเทศบาล งานสาธารณงานการกุศลของเทศบาล และหน่วยงานต่างๆ ที่ขอความร่วมมือ งานตรวจสอบ และแสดงรายการเกี่ยวกับเอกสารสำคัญของทางราชการ งานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลาและผู้ทำคุณประโยชน์ งานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง งานจัดทำคำสั่งและประกาศของเทศบาล งานรัฐพิธี งานประชาสัมพันธ์ งานรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยของสำนักงาน งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ และร้องเรียน และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

2. งานแผนและงบประมาณ

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล งานจัดทำแผนปฏิบัติการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ งานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนา งานรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญ งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานจัดทำงบประมาณ งานบริการข้อมูลสารสนเทศ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

3. งานการเจ้าหน้าที่

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานสรรหาบุคคล งานบรรจุ แต่งตั้งพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาล งานแจ้งมติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล งานพัฒนาบุคลากร งานประชุมเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล งานตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้างเทศบาล งานจัดทำทะเบียนประวัติพนักงานเทศบาล งานจัดทำบัตรประจำตัวพนักงานเทศบาล งานจัดทำรายงานเกี่ยวกับบุคคล งานจัดทำประกันสังคมลูกจ้าง งานบำเหน็จบำนาญ งานควบคุมการลา และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

4. งานประชาสัมพันธ์

5. งานทะเบียนราษฎร

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานบังคับการตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 งานบังคับการตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 งานปฏิบัติตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการทะเบียนราษฎร งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

6. งานนิติการ

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ทางด้านกฎหมาย เช่น การจัดทำร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมเทศบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ฯลฯ งานทำนิติกรรมสัญญา งานพิจารณา วินิจฉัยปัญหากฎหมาย งานสอบสวนพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับวินัยพนักงานและลูกจ้างเทศบาล และการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ งานดำเนินการทางคดี งานพิจารณาตอบข้อหารือปัญหาทางกฎหมาย และการปฏิบัติทางกฎหมาย งานติดตามและประสานงานการดำเนินคดี งานกิจการสภา และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับหมอบหมาย

7. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบ การควบคุมและบังคับตาม พ.ร.บ.ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 งานตรวจอาคารสถานที่ที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่าย งานควบคุมและตรวจสถานที่ของนายตรวจอัคคีภัย งานควบคุมกำจัดหรือทำลายสิ่งที่อาจเกิดอัคคีภัยในสถานที่ งานทำแผนการตรวจระบบความปลอดภัยในสถานที่ งานส่งเสริมการจัดให้มีระบบความปลอดภัยในสถานที่ งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ระบบความปลอดภัย งานตรวจสอบและรับรองระบบความปลอดภัยในสถานที่ งานรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการ งานป้องกันและระงับอัคคีภัย งานตรวจสอบ ควบคุมดูแลในการจัดเตรียมและอำนวยความสะดวกในการป้องกันและบรรเทาและระงับสาธารณภัยต่าง ๆ งานจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานฝึกซ้อมและดำเนินการตามแผน งานเกี่ยวกับวิทยุสื่อสาร งานวิเคราะห์และพิจารณาทำความเห็น สรุป รายงาน เสนอแนะรวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยธรรมชาติและสาธารณภัยอื่น เช่น อุทกภัย วาตภัย งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยงานตรวจสอบภายใน

    มีปลัดเทศบาล  (นักบริหารงานเทศบาล 7)  เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล  ลูกจ้าง  และพนักงานจ้าง  โดยมีหน้าที่
ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการตรวจสอบบัญชี   เอกสารการเบิกจ่าย   เอกสารการรับเงินทุกประเภท   ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐาน
การบัญชี   งานตรวจสอบพัสดุ   และการเก็บรักษา   งานตรวจสอบทรัพย์สินและการทำประโยชน์จากทรัพย์สินเทศบาล   และงานอื่น  ๆ
ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย

กองคลัง
    มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับจ่ายเงินทุกประเภท งานเกี่ยวกับ การเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงินเทศบาลตำบล รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่างๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิกจ่าย งบประมาณ การหักภาษีและนำ ส่งเงิน รายงานเงินคงเหลือประจำวัน การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของเทศบาลตำบล การยืมเงินทดรองราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน การเร่งรัดใบสำคัญและเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 5 งาน คือ

1. งานธุรการ

2. งานการเงินและบัญชี

    มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานการเงินและบัญชีงานพัสดุและทรัพย์สิน งานสถิติการคลัง งานธุรการด้านการคลัง งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ งานแสดงฐานะทางการเงิน งานวิชาการด้านการเงิน งานจัดทำบัญชี งานทะเบียนคุมรายได้รายจ่าย งานเบิกจ่ายรับนำส่งเงิน เก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ งานควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ งานจัดทำงบทดลอง และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

3. งานจัดเก็บและพัฒนารายได้

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน งานจัดเก็บและพัฒนารายได้ งานผลประโยชน์ งานเร่งรัดรายได้ งานกิจการพาณิชย์ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

4. งานพัสดุและทรัพย์สิน

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับ งานการซื้อและการจ้าง งานการซ่อมและบำรุงรักษา งานการจัดทำทะเบียนและพัสดุ การทำบัญชี การทำสัญญา งานการตรวจสอบ การรับจ่ายพัสดุและเก็บรักษาพัสดุ เกี่ยวกับการจัดหา จัดซื้อ การเบิกจ่ายพัสดุรวมถึงการเบิกจ่ายใบเสร็จรับเงินทุกประเภท ตลอดจนการจัดทำทะเบียนคุม การเก็บรักษา การซ่อมแซมและบำรุงรักษา การแทงจำหน่ายพัสดุที่ชำรุด ซ่อมพัสดุครุภัณฑ์ ร่างสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง การต่ออายุสัญญา และการเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อหรือสัญญาจ้างพัสดุ ตรวจรับ จัดทำทะเบียน เบิกจ่ายพัสดุ งานการจำหน่ายพัสดุ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย

5. งานแผนที่ภาษี

กองช่าง
    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล และยานพาหนะงานเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 6 งาน คือ

1. งานธุรการ

2. งานวิศวกรรม

    มีหน้าที่และความรับผิดชอบ งานออกแบบคำรวณด้านวิศวกรรม งานวางโครงการและก่อสร้างทางด้านวิศวกรรม งานบริการเกี่ยวกับด้านวิศวกรรม งานควบคุมอาคาร งานศึกษาวิเคราะห์วิจัยทางด้านวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

3. งานสาธารณูปโภค

    มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ  งานกิจการประปา งานระบายน้ำ งานด้านการก่อสร้างอาคารถนน  สะพาน  ทางเท้า และสิ่งติดตั้งอื่นๆ  งานวางโครงการและควบคุมการก่อสร้าง  งานซ่อมบำรุง  งานควบคุมดูแลอาคารสถานที่ และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

4. งานผังเมือง

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับ งานสำรวจและแผนที่ งานควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน งานการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง งานจัดรูปที่ดินและฟื้นฟูเมือง งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย

5. งานสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ

    มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ งานสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

6. งานสวนสาธารณะ

    มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ งานสวนสาธารณะ และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

กองการศึกษา
    มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับงานจัดการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม  และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ของท้องถิ่น งานสันทนาการ  งานการศาสนา  งานศิลปวัฒนธรรม งานส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งส่วนราชการ ภายในออกเป็น 5 งาน คือ

1. งานธุรการ

2. งานบริหารวิชาการ

3. งานการศึกษาปฐมวัย

4. งานกีฬาและนันทนาการ

5. งานส่งเสริมประเพณีและกิจกรรมศาสนา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม


    มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน การควบคุมโรค การสุขาภิบาล การวางแผนการสาธารณสุข การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข การเฝ้าระวังโรค การเผยแพร่และฝึกอบรม การให้สุขศึกษา การจัดทำงบประมาณตามแผนงานสาธารณสุข การจัดการภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย การบริหารทรัพยากรการดำเนินงาน การบริหารสาธารณสุข การควบคุมการฆ่าสัตว์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งส่วนราชการภายใน ประกอบด้วย 3 งาน ดังนี้

1. งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับ

    (1) งานควบคุมและส่งเสริมการพัฒนาดานสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม

    (2) จัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

    (3) งานป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวัง แก้ไข เหตุรำคาญเกี่ยวกับเสียงและการสั่นสะเทือน มลพิษทางน้ำ  ทางอากาศ  และมลภาวะด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม

    (4) งานสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ

    (5) งานควบคุม ตรวจสอบ การประกอบกิจการ และใบอนุญาตและหนังสือรับรองการแจ้ง ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

    (6) งานป้องกัน ควบคุม และระงับเหตุรำคาญทางด้านสาธารณสุขและเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    (7) งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ

    (8) งานสุขาภิบาลโรงงาน

    (9) งานอบรมเผยแพร่ความรู้ด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม

    (10) งานรักษาความสะอาด

    (11) งานส่งเสริมสุขภาพ และงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

    (12) งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

2. งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับ

    (1) การรับ–ส่งหนังสือเอกสารทางราชการ

    (2) จัดทำแผนพัฒนาสามปี

    (3) จัดทำร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี

    (4) ควบคุมดูแลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี

    (5) ควบคุมดูแลการเบิกจ่ายวัสดุและครุภัณฑ์

    (6) จัดทำฎีกาเบิกจ่ายการจัดซื้อจัดจ้าง

    (7) จัดทำฎีกาเบิกจ่ายงบประมาณต่างๆ เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทน

    (8) จัดทำฎีกาเบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

    (9) จัดทำบันทึกอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง

3. งานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าไม้ มีหน้าที่เกี่ยวกับ

    (1) การบริหารจัดการกองทุนระดับท้องถิ่นให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    (2) การวางแผนด้านสุขภาพ และจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพชุมชน

    (3) สนับสนุนงบประมาณให้หน่วยบริการสาธารณสุข/กลุ่มประชาชน/ชมรม และสถานศึกษา/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อนำไปจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมป้องกัน และดูแลสุขภาพให้กับประชาชน

    (4) งานด้านการเงินและบัญชี   

    (5) การรับ – จ่าย การเก็บรักษาเงิน

    (6) การจัดทำบัญชีหรือทรัพย์สินในระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด

    (7) ควบคุม ดูแลงานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

    (8) ควบคุม ดูแลการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามระเบียบ และรายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการกองทุหลักประกันสุขภาพ

    (9) การติดตามประเมินผลกองทุนหลักประกันสุขภาพ

4. งานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับ

    งานชมรมผู้สูงอายุ ควบคุม ดูแลการรับสมัครสมาชิกชมรม การรับเงินค่าสงเคราะห์ศพ การจัดทำบัญชีการรับ – จ่ายเงินชมรมผู้สูงอายุ และประสานงานคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย

1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

4. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

5. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

6. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

7. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

8. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2562         

9. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การควบคุมการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2562

10. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2562

11. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การควบคุมตลาด พ.ศ. 2562

12. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2562

13. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2562

14. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2562

15. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2561

16. เทศบัญญัติเทศบาลตำบลท่าไม้ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2562

ข้อมูลการติดต่อ : เทศบาลตำบลท่าไม้ 99 หมู่ 9 ตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา กาญจนบุรี 71120 โทรศัพท์ 034-541775 

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โทร. 0 3454 1775 ต่อ 108

E-mail : admin@thamaikan.go.th 

   

กองการประปา

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตและการจำหน่ายน้ำประปา  การติดตั้งประปา  การควบคุมเกี่ยวกับการดำเนิน การประปา  รายได้  รายจ่าย  บัญชี  พัสดุ  การวางแผนปรับปรุงให้ข้อบกพร่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  โดยแบ่งงาน  ดังนี้ 

1. งานผลิตและบริการ 

2. งานการเงินและบัญชี 

3. งานธุรการ