การดำเนินการทางวินัยของ พนักงานส่วนท้องถิ่น
ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
วินัยและการรักษาวินัย
ของพนักงานส่วนท้องถิ่น
วินัย มี 2 ความหมาย คือ
1. ระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนความประพฤติที่ กำหนดให้ข้าราชการต้องยึดถือปฏิบัติ
2. ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าสามารถ ควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของวินัยได้
วินัย มี 2 ประเภท คือ
1. วินัยอย่างไม่ร้ายแรง
2. วินัยอย่างร้ายแรง
การรักษาวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่นมี ดังนี้
ข้อ 1 ต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดเป็นข้อห้าม และข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้ เคร่งครัดอยู่
ข้อ 2 ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อ 3 ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ ซื่อสัตย์และความเที่ยงธรรม
ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจ หน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ หรือ การทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรง
ข้อ 4 ต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการ
ข้อ 5 ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ อุตสาหะ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทาง ราชการ และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการอันเป็น เหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิด วินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 6 ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบของทางราชการมติคณะรัฐมนตรี และ นโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหายแก่ราชการ
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบของทางราชการมติคณะรัฐมนตรี หรือ นโยบายของรัฐอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 7 ต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษที่จะสนใจและ รับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อ ประเทศชาติและต้องป้องกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ ประเทศชาติจนเต็มความสามรถ
ข้อ 8 ต้องรักษาความลับทางราชการ การเปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุ ให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรง
ข้อ 9 ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมาย และ ระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ ราชการหรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการหรือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะเสนอ ความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวน
คำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้วถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชาต้องปฏิบัติตาม การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงมาปฏิบัติตามคำสั่ง ของผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 10 ต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการ กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
ข้อ 11 ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาการ รายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการ รายงานเท็จด้วย
ข้อ 12 ต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและ แบบธรรมเนียมของทางราชการ
ข้อ 13 ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราว เดียวกันอย่างเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มี เหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อัน แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็น ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 14 ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้อง ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างพนักงานส่วน ท้องถิ่นด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
ข้อ 15 ต้องต้อนรับให้ความสะดวกให้ความเป็น ธรรมและให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้มาติดต่อ ราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วย ความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่
หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการการดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหง ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิด วินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ 16 ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่น กระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยง ธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ ราชการของตน
ข้อ 17 ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงาน คล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ข้อ 18 ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองใน การปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับ ประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการโดยอนุโลม
ข้อ 19 ต้องรักษาซึ่งเสียงของตน และรักษา เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อม เสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษา ถึงที่สุดให้ จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุกเว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำการอื่นใดได้ชื่อว่าเป็นผู้ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ ทางวินัยตามที่กำหนดในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้การทำผิด วินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงด โทษตามที่ กำหนดในหมวด 8
สถานโทษพนักงานส่วนตำบล มี 5 สถาน ได้แก่
1. วินัยอย่างไม่ร้ายแรง
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
2. วินัยอย่างร้ายแรง
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
สถานโทษพนักงานส่วนตำบล มี 4 สถาน ได้แก่
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดค่าจ้าง/ค่าตอบแทน
(3) ลดขั้นค่าจ้าง/ค่าตอบแทน
(4) ไล่ออก
(ประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2558)